ผมกำลังเพาะผักหวานป่าจากเมล็ดสั่งซื้อมาจำนวน 500 เมล็ด เมื่อเช้าไปถึงเริ่มออกรากแล้ว
ผักหวานป่า เป็นผักพื้นบ้านที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในพื้นที่ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง เนื่องจากเป็นผักที่มีรสชาติหวานอร่อย แต่หารับประทานได้ค่อนข้างยากเพราะผักชนิดนี้จะให้ผลผลิตในบางช่วงฤดูกาลเท่านั้น คือในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน และส่วนใหญ่จะเก็บมาจากป่า แต่ในปัจจุบันได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกผักหวานป่าเพื่อการค้ากันมากขึ้น ทำให้ในหลายๆ พื้นที่มีผลผลิตออกจำหน่ายมากขึ้น โดยแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญในประเทศไทยอยู่ที่จังหวัดสระบุรี และพื้นที่ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ต้นผักหวานป่า มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 4-11 เมตร เปลือกต้นเรียบกิ่งอ่อนเป็นสีเขียวเข้ม เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเทาอมสีน้ำตาลอ่อน เนื้อไม้มีความแข็ง เป็นพืชผลัดใบตามฤดูกาล จึงเก็บสะสมอาการไว้ที่รากและลำต้น นิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มักจะพบต้นผักหวานป่าได้ตามป่าเบญจพรรณในที่ราบ หรือเชิงเขาที่มีความสูงไม่เกิน 600 เมตร จากระดับน้ำทะเล และโดยปกติจะชอบขึ้นอยู่บนดินร่วนปนทราย
สรรพคุณของผักหวานป่า
ผักหวานป่าเป็นอาหารและยาประจำฤดูร้อน ที่ช่วยแก้อาการของธาตุไฟได้ตามหลักแพทย์แผนไทย
ใบและรากมีสรรพคุณแก้อาการปวดศีรษะ (ใบและราก)
รากมีรสเย็น สรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ สงบพิษไข้ (ราก) ส่วนยอดใช้ปรุงเป็นยาเขียวลดไข้ ลดความร้อน (ยอด)
รากเป็นยาเย็น สรรพคุณเป็นยาแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ แก้กระสับกระส่าย (ราก) รากใช้ต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาเย็นแก้พิษร้อนใน (ราก) ส่วนยอดมีรสหวานกรอบช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ระบายความร้อน (ยอด)
ยางใช้กวาดคอเด็ก แก้ลิ้นเป็นฝ้าขาว (ยาง)
ช่วยแก้อาการปวดท้อง (ใบและราก)
รากใช้ต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้อาการปวดมดลูกของสตรี (ราก)
รากใช้ต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้น้ำดีพิการ (ราก)
ช่วยแก้ดีพิการ แก้เชื่อมมัว (ราก)
ใช้รักษาแผล (ใบและราก)
ช่วยแก้อาการปวดในข้อ (ใบและราก)
ใช้แก่นของต้นผักหวาน นำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้อาการปวดตามข้อหรือปานดง (แก่น)
ใช้ต้นผักหวานกับต้นนมสาวเป็นยาเพิ่มน้ำนมแม่หลังการคลอดบุตรได้ (ต้น)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น