เกร็ดความรู้ จาก แกลบดิน ฟางข้าว และถั่วงา

เกร็ดความรู้ จาก แกลบดิน ฟางข้าว และถั่วงา
คุณสมบัติของแกลบดิบ มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับฟาง







  • ข้อเสียของแกลบดิบ มีธาตุชิส์กอนที่ยังไม่ย่อยสลาย ซึ่งจะเป็นตัวดึงก๊าซออกซิเจนและไนโตรเจน ที่มีอยู่ในอากาศไปใช้ในการย่อยสลาย ซึ่งก็คือการแย่งอาหารจากต้นพืชผักของเรานั่นเอง
คุณสมบัติของแกลบเผา
  1. มีแร่ธาตุโปตัสเซียมและแคลเซียม
  2. มีรูมากมายซึ่งจะเป็นที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์
  3. ทำให้คลุมดินหรือนำไปผสมกับอินทรีย์วัตถุอย่างอื่น ช่วยลดความร้อนที่เกิดขึ้นเนื่องจากผ่านการย่อยสลาย
ช่วยรักษาความชุ่มชื้นให้แก่หน้าดิน
ประโยชน์ของฟางข้าว
  1.  เป็นหัวปุ๋ยชั้นดี
  2. ช่วยรักษาความชุ่มชื้นให้แก่ดิน
  3. ปรับโครงสร้างของดินที่เป็นกรด-ด่าง ให้มีความสมดุลลงตัวพอดี
  4. เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ต่างๆ เช่น ไส้เดือน แมลง และจุลินทรีย์
  5.  เมื่อนำไปคลุมดิน ทำให้ดินร่วนซุย โดยไม่ต้องพรวนดิน
  6. เมื่อนำไปคลุมดิน วัชพืชหรือหญ้าต่างๆจะไม่เกิดขึ้น
  7. ทำให้เกิดเห็ดฟางตามธรรมชาติ

ประโยชน์ของพืชตระกูลถั่ว
  1. ให้แร่ธาตุไนโตรเจน ซึ่งช่วยส่งเสรมการเจริญเติบโตของใบและลำต้น
  2. ให้ร่มเงาแก่พืชชนิดอื่น
  3. ช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของแมลงและหนอนในพืชผักเป็นอย่างดี
  4. เป็นอาหารชั้นดีของมนุษย์



ประโยชน์ของงา
  1. ให้แร่ธาตุโปแตสเซียมและแคลเซียม
  2. ใบ-ลำต้น และผล เมื่อย่อยสลายเป็นปุ๋ยแล้ว ช่วยป้องกันโรคใบด่าง-ใบหงิกงอ
  3. มีแคลเซียมมากกว่าผักทุกชนิด 40 เท่า ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
  4. มีวิตามิน E ทำให้แก่ช้า, มีธาตุเหล็กช่วยสร้างเม็ดเลือดแดงและวิตามินตัวอื่นอีกมากมาย
  • ปุ๋ยเคมี เป็นปุ๋ยที่ละลายน้ำได้ดี และพืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที แต่ปุ๋ยเคมีสามารถให้สารที่พืชต้องการได้จำกัดเพียง 3 ตัว คือ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โปแตสเซียม (K)
  • จุดอ่อนของปุ๋ยเคมี จะส่งผลให้สัตว์เล็กๆที่อยู่ในดินตาย ระยะเวลาที่ปุ๋ยเคมีจะมีคุณค่าต่อพืชผักค่อนข้างสั้น ปุ๋ยเคมี 4 ส่วนที่เราหว่านลงไปในดิน พืชผักจะมีโอกาสได้รับแร่ธาตุเพียง ๑ ส่วน อีก 3 ส่วน จะกลายเป็นสารพิษตกค้างอยู่ในดิน ผลที่ตามมาคือ ดินจะเป็นกรดแข็ง ปลูกพืชอะไรก็จะไม่เจริญเติบโต

ขี้เถ้าแกลบ
  • ขี้เถ้าแกลบถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการเผาไหม้ของแกลบมีลักษณะหลายสีขึ้นอยู่กับกระบวนการเผา แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
  • ขี้เถ้าแกลบเทา เป็นขี้เถ้าแกลบที่มีลักษณะสีเทา เนื้อขี้เถ้าแกลบแข็ง และคงรูปมากกว่าแกลบชนิดอื่น แต่จะแตกละเอียดหากได้รับแรงกดบีบ เป็นแกลบที่ได้จากการเผาที่อุณหภูมิไม่เกิน 600 องศาเซลเซียส ในสภาวะที่มีออกซิเจนไม่เพียงพอทำให้การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ขณะเผาไหม้จะไม่เกิดเปลวไฟ

แกลบเทา

  • ขี้เถ้าแกลบดำ เป็นขี้เถ้าแกลบที่มีลักษณะสีดำ เนื้อขี้เถ้ามีการคงรูปของแกลบบางส่วน เนื้อแกลบแข็งและเปราะง่านกว่าแกลบสีเทา แต่จะแตกละเอียดหากได้รับแรงกดบีบ เป็นแกลบที่ได้จากการเผาอย่างต่อเนื่องที่อุณหภูมิไม่เกิน 1200 องศาเซลเซียส ในสภาวะที่มีออกซิเจนไม่เพียงพอทำให้การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ โดยไม่เกิดเปลวไฟขณะเผาไหม้

แกลบดำ

  • ขี้เถ้าแกลบขาว เป็นขี้เถ้าแกลบที่มีลักษณะสีขาว เนื้อขี้เถ้าแกลบแตกหักเป็นผงขนาดเล็ก เป็นแกลบที่ได้จากการเผาอย่างต่อเนื่องที่อุณหภูมิสูง ภายใต้สภาวะออกซิเจนที่มีเกินพอทำให้เกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ โดยส่วนมากมักจะเกิดเปลวไฟขณะเผาไหม้หากเผาในที่โล่งที่มีอากาศกระจายสู่พื้นผิวขณะเผาไหม้ที่เพียงพอ นอกจากการเผาที่อุณหภูมิสูงแล้วยังสามารถเผาได้จากแกลบดำที่อุณหภูมิต่ำอย่างต่อเนื่องได้อีกวิธี แกลบชนิดนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์มากในอุตสาหกรรมเนื่องจากองค์ประกอบส่วนมากจะเป็นซิลิกา

แกลบขาว

  • เมื่อแกลบเผาไหม้จะทำให้เกิดเถ้าร้อยละ 13-30 ที่ประกอบด้วยซิลิกาไดออกไซด์ (SiO2) ประมาณร้อยละ 85-97 ส่วนอื่นจะประกอบด้วยแร่ธาตุต่างๆ เช่น K2O 2.3%, MgO 0.5%, Al2O 0.4%, CaO 0.4%, Fe2O3 0.2% และ Na2O 0.1%

ประโยชน์ของขี้เถ้าแกลบ
  • ขี้เถ้าแกลบดำ
  1.  นำมาเป็นวัสดุปรับปรุงดินเพื่อช่วยเพิ่มความร่วนซุย เพิ่มแร่ธาตุ ดินอุ้มน้ำได้ดี รวมดึงนิยมนำมาเป็นวัสดุปลูกผสมกับดินสำหรับการปลูกพืชในกระถาง
  2. ใช้เป็นตัวดูดซับในกระบวนการบำบัดน้ำเสีย บำบัดก๊าซพิษสำหรับดูดซับสารมลพิษต่างๆ หรือที่เรียกว่าถ่านกัมมันต์

  • แกลบเทา
  1. นิยมนำมาเป็นวัสดุปรับปรุงดิน และผสมดินเป็นวัสดุปลูกสำหรับการปลูกพืชในกระถาง

  •  แกลบขาว
  1. ใช้เป็นวัตถุดิบการการผลิตซิลิกา
  2. ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตแก้ว ผลิตภัณฑ์จากแก้ว
  3. ใช้เป็นส่วนผสมของอิฐก่อสร้าง เนื่องจากสามารถทนต่อความร้อนได้ดีมากกว่า 1000 องศาเซลเซียส
  4. ใช้เป็นส่วนผสมของการผลิตปูนซีเมนต์
  5. ใช้เป็นวัสดุปรับปรุงดิน
  • วิธีการเผาแกลบดำ
  1. ขุดหลุมเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสหรือวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร สูง 50 ซม. ตามปริมาณการเผา หรืออาจก่ออิฐขึ้นสูงล้อมรอบ
  2. ตั้งฐานก่อกองไฟตรงกลางจนไฟลุกไหม้เป็นถ่านแดง
  3. นำถังน้ำมันเจาะก้นที่ไม่ใช้แล้วหรือท่อโลหะวางครอบกองไฟ
  4. นำแกลบเทกองรอบถังหรือท่อโลหะที่ครอบกองไฟให้ท่วมสูงตามระดับของบ่อ
  5. หลังจากปฏิบัติตามวิธีข้างต้น แกลบจะเริ่มเผาไหม้อย่างช้าโดยไม่ลุกเป็นเปลวไฟจนแกลบบริเวณด้านนอกมีลักษณะไหม้ดำทั้งหมด
  6. ทำการเกลี่ย และฉีดพรมด้วยน้ำจนไฟดับสนิท และแกลบเย็นตัว
  • การเผาแกลบดำ
  • ทั้งนี้ ขณะเผาควรระวังในเรื่องเปลวไฟที่อาจเกิดขึ้น เพราะหากเกิดเปลวไฟจะทำให้แกลบเผาไหม้สมบูรณ์กลายเป็นขี้เถ้าขาว
  • สำหรับการเผาแกลบขาวอาจใช้วิธีในลักษณะเตาในลักษณะเดียวกัน แต่อาจต้องต่อท่อเพื่อให้อากาศหรือคอยเกลี่ยให้แกลบมีการลุกไหม้อย่างต่อเนื่อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น