ด้วงปีกแข็งหรือด้วงกุหลาบเข้ามากัดกินใบมะนาวและใบกล้วย ที่ไร่กิจรุ่งเรือง


  • ด้วงปีกแข็งหรือด้วงกุหลาบ
  • ลักษณะ



รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ ด้วงกุหลาบ มีตัวสีน้ำตาล มีขนละเอียดสีขาวอยู่ทั่วตัว  ขนาดตัวยาวประมาณ 1 ซม. มีความกว้างของหัว อก และลำตัวขนาดใกล้เคียงกัน  มีตาสีดำเห็นชัด  ตัวเมียวางไข่ลงในดิน หนอนกัดกินรากพืชในดิน  ระยะไข่ประมาณ 1 เดือน ระยะหนอนนานหลายเดือน ในปีหนึ่งมีเพียง 1 ชั่วอายุขัย ตัวเต็มวัยกัดกินใบพืชในเวลากลางคืน  พอถึงเวลากลางวันจะหลบลงดินหมด

☞การวางไข่: ตัวเมียวางไข่กองอยู่ประมาณ 20-50 ฟอง ตามกองซากพืช กองมูลสัตว์ หรือกองปุ๋ยหมักต่างๆ ไข่มีลักษณะเป็นวงรี เปลือกเรียนบสีขาวขุ่น ระยะไข่ประมาณ 6-9 วัน

☞ช่วงเจริญเติบโต: ตัวหนอนเมื่อฟักออกจากไข่จะกินอาหารตามผิวดิน หรือกองมูลสัตว์ หนอนมี 3 วัย
ระยะตัวหนอนประมาณ 52-95 วัน
หนอนโตเต็มที่ยาว 2-2.5 เซนติเมตร
ระยะดักแด้ประมาณ 11-14 วัน

☞ตัวเต็มวัย:มีลักษณะลำตัวอ้วนป้อมค่อนข้างแบน สีน้ำตาลอ่อน ตาสีดำ ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ตัวเมียอายุ 7-57 วัน เฉลี่ย 28 วัน ส่วนตัวผู้อายุ 7-16 วัน เฉลี่ย 18 วัน

การทำลาย
☞ด้วงกุหลาบจะออกหากินในเวลากลางคืนระหว่าง 19.00-21.00 น. โดยการกัดกินใบ และดอกทำให้เสียคุณภาพ พืชอาหารและลักษณะการทำลาย    ด้วงกุหลาบกัดกินใบพืชได้หลายชนิด   ทั้งไม้ดอกไม้ผลและพืชไร่  รวมทั้งอ้อยด้วย  อาการที่เกิดจากด้วงกัดกิน เกิดเป็นรอยพรุนบนแผ่นใบ

☞ส่วนในเวลากลางวันจะพบตามดินใกล้รากพืช
☞แมลงจะเกาะอยู่ตามใต้ใบแล้วกัดกินใบ และดอกกุหลาบเป็นอาหาร

การป้องกันกำจัด
☞เก็บตัวเต็มวัยในเวลากลางคืน ติดตั้งกับดักแสงไฟ
☞ยาฆ่าแมลง:คลอร์ไพริฟอส,คลอเดน,พาราไธออน,เซฟวิน,คาร์บาริล carbaryI (Sevin 85% WP) ฉีดพ่น 5 - 7 วัน ในช่วงระบาด
☞ทำลายกองหญ้า หรือ กองมูลสัตว์ไม่ให้เป็นที่เพาะขยายพันธุ์





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น