หลักการเกษตรอินทรีย์

ความหลากหลายที่สัมพันธ์กันอย่างสมดุลในระบบนิเวศ


นิเวศป่าธรรมชาติมีพืชพรรณและสิ่งมีชีวิตต่างๆอยู่ร่วมกันอย่างหลากหลายสิ่งมีชีวิตต่างๆเหล่านี้มีทั้งที่พึ่งพาอาศัยกันแข่งขันกันหรือเป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งแต่ต่างก็สามารถดำรงอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุลและมีเสถียรภาพพืชพรรณต่างๆแม้จะมีแมลงหรือศัตรูที่กินพืชนั้นเป็นอาหารบ้างแต่ก็ไม่ได้ทำลายพืชนั้นจนเสียหายไปทั้งหมดทั้งนี้เพราะพืชเองก็มีความสามารถที่จะฟื้นฟูตัวเองจากการทำลายของศัตรูพืชได้และนอกจากนี้เมื่อมีแมลงศัตรูพืชเกิดขึ้นมากก็จะมีสิ่งมีชีวิตอื่นที่เป็นศัตรูตามธรรมชาติมาควบคุมประชากรของศัตรูพืชให้ลดลงอยู่ในภาวะที่สมดุลจากหลักการนี้เองการทำเกษตรอินทรีย์จะต้องหาสมดุลของการเพาะปลูกพืชที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืชร่วมหลายชนิดในเวลาเดียวกันหรือเหลื่อมเวลากันตลอดจนการปลูกพืชหมุนเวียนต่างชนิดกันรวมทั้งการเลี้ยงสัตว์ทั้งนี้การทำเกษตรที่หลากหลาย(ซึ่งมักนิยมเรียกกันว่า“เกษตรผสมผสาน”)นับเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างมี

ประสิทธิภาพมากกว่าและยังเป็นการลดความเสี่ยงภัยจากปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืชระบาดอีกด้วยนอกจากนี้การไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะมีส่วนช่วยให้ศัตรูธรรมชาติสามารถแสดงบทบาทในการควบคุมศัตรูพืชซึ่งเป็นการสร้างสมดุลนิเวศการเกษตรอีกวิธีหนึ่งเพราะการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะทำลายศัตรูธรรมชาติในสัดส่วนที่มากกว่าศัตรูพืชทำให้ศัตรูพืชกลับยิ่งระบาดรุนแรงมากขึ้นอีก






ความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารในดิน

"ความอุดมสมบูรณ์ของดิน” ถือได้ว่าเป็นหัวใจของเกษตรอินทรีย์ผิวดินในระบบนิเวศป่าธรรมชาติจะมีเศษซากพืชและใบไม้ปกคลุมอยู่ตลอดเวลาซึ่งอินทรีย์วัตถุที่คลุมดินนี้นอกจากจะช่วยป้องกันการกัดเซาะและการพังทลายของหน้าดินแล้วยังมีส่วนสำคัญที่ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้นเพราะอินทรีย์วัตถุเหล่านี้เป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์ที่อยู่ในดินดังนั้นการมีอินทรีย์วัตถุคลุมหน้าดินจึงทำให้ “ดินมีชีวิต” ขึ้นซึ่งเมื่ออินทรีย์วัตถุเหล่านี้ย่อยสลายผุพัง(โดยการทำงานของสิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์ในดิน)

ก็จะทำให้เกิดฮิวมัสซึ่งทำให้ดินร่วนซุยและสามารถเก็บกักน้ำและธาตุอาหารต่างๆได้เพิ่มมากขึ้นดินจึงมีความชื้นอยู่ตลอดเวลาและมีธาตุอาหารเพียงพอให้กับพืชพรรณในบริเวณดังกล่าวเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรง






ดังนั้นหลักการของการทำเกษตรอินทรีย์จึงจำเป็นต้องหาอินทรีย์วัตถุต่างๆมาคลุมหน้าดินอยู่เสมอไม่ว่าจะเป็นฟางใบไม้หรือแม้แต่พืชขนาดเล็ก(เช่นพืชที่ใช้ปลูกคลุมดิน)ซึ่งอินทรีย์วัตถุเหล่านี้จะกลายเป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์ในดินทำให้ดินฟื้นกลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่งนอกจากนี้การไม่ใช้สารเคมีต่างๆที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์ในดิน(เช่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช)เป็นการช่วยทำให้ดินสามารถฟื้นความสมบูรณ์ของตัวเองได้อย่างรวดเร็วเมื่อดินมีความสมบูรณ์พืชที่ปลูกก็แข็งแรงมีความต้านทานต่อโรคและแมลง รวมทั้งให้ผลผลิตสูง



การหมุนเวียนธาตุอาหาร


ในป่าธรรมชาติต้นไม้พืชพรรณได้รับธาตุอาหารจากดินและอากาศ โดยธาตุอาหารในดินจะถูกดูดซึมผ่านทางรากส่วนธาตุอาหารในอากาศพืชจะได้รับจากการหายใจทางใบเมื่อพืชได้รับแสงก็จะสังเคราะห์ธาตุอาหารเหล่านี้มาเป็นสารอาหารต่างๆซึ่งทำให้พืชเจริญเติบโตและเพิ่มชีวมวล(biomass)ของพืชเองไม่ว่าจะเป็นลำต้นที่ขยายใหญ่ขึ้นกิ่งก้านและใบเพิ่มขึ้นฯลฯเมื่อใบหรือกิ่งแก่ลงก็จะร่วงหล่นลงดินหรือบางส่วนของพืชอาจถูกสัตว์หรือแมลงกัดแทะและเมื่อสัตว์ถ่ายมูลออกมามูลเหล่านั้นก็กลับคืนลงสู่ดินทั้งชีวมวลจากพืชและมูลสัตว์ที่กินพืช(ที่เราเรียก“อินทรีย์วัตถุ”)


เมื่อกลับคืนสู่ดินก็จะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์และปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาซึ่งรากพืชจะดูดซึมกลับไปเป็นธาตุอาหารอีกครั้งหนึ่งวัฏจักรหรือวงจรธาตุอาหารที่หมุนเวียนไปอย่างสมดุลนี้เองที่ทำให้พืชในป่าสามารถเจริญเติบโตได้อย่างยั่งยืนเป็นเวลาหลายร้อยหลายพันปีเพราะธาตุอาหารทั้งหมดหมุนเวียนอยู่ในระบบนิเวศนั้นๆอย่างต่อเนื่อง

แน่นอนว่าการทำเกษตรไม่ว่าจะเพื่อยังชีพหรือเพื่อจำหน่ายก็ตามธาตุอาหารส่วนหนึ่งย่อมสูญหายไปจากระบบนิเวศการเกษตรจากการบริโภคผลผลิตดังนั้นเกษตรกรจำเป็นต้องหาวิธีการที่เหมาะสมในการหาธาตุอาหารจากภายนอกฟาร์มมาชดเชยส่วนที่สูญเสียไปแต่ปัญหาการสูญเสียธาตุอาหารในฟาร์มที่สำคัญกว่าก็คือการสูญเสีย
ธาตุอาหารในดินที่เกิดขึ้นจากการชะล้างหน้าดิน,การกัดเซาะของลม ฝนและน้ำ,ธาตุอาหารที่ไหลลงดินลึกชั้นล่างรวมถึงที่สูญเสียไปทางอากาศดังนั้นเกษตรอินทรีย์จึงให้ความสำคัญกับการป้องกันการสูญเสียธาตุอาหารที่เกิดจากระบบการผลิตโดยมีเป้าหมายเพื่อลดการพึ่งพาแหล่งธาตุอาหารจากภายนอกฟาร์มที่มากเกินไป

แนวทางการหมุนเวียนธาตุอาหารในฟาร์มอาศัยหลักการทางธรรมชาติด้วยการใช้ธาตุอาหารพืชที่อยู่ในรูปของอินทรีย์วัตถุที่สามารถย่อยสลายได้โดยจุลินทรีย์ซึ่งจะทำให้วงจรธาตุอาหารหมุนเวียนได้อย่างต่อเนื่องตัวอย่างของการหมุนเวียนธาตุอาหารในแนวทางเกษตรอินทรีย์ที่สำคัญคือการใช้ปุ๋ยหมัก,การคลุมดินด้วยอินทรีย์วัตถุ,การปลูกพืชเป็นปุ๋ยพืชสดและการปลูกพืชหมุนเวียน เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น