เทคนิคการทำมะนาวนอกฤดูในวงบ่อซีเมนต์

เทคนิคการทำมะนาวนอกฤดูในวงบ่อซีเมนต์



สำหรับการทำมะนาวนอกฤดูนั้น ต้นมะนาวที่จะบังคับให้ออกดอกนอกฤดูต้องมีอายุตั้งแต่8เดือน
     ถึง1ปีขึ้นไป จึงจะสามารถบังคับให้ออกดอกนอกฤดูได้ โดยมีวิธีขั้นตอนการปฎิบัติดังนี้

ผักสวนครัวรั้วกินได้

ผักสวนครัวรั้วกินได้
            ผักเป็นอาหารประจำวันของมนุษย์ เป็นแหล่งอาหารให้แร่ธาตุวิตามินที่มีคุณค่าทางอาหารสูง มีราคาถูกเมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อสัตว์จากข้อมูลวิจัยกล่าวว่า มนุษย์เราควรบริโภคผักวันละประมาณ 200 กรัม เพื่อให้ร่างกายได้รับแร่ธาตุและวิตามินอย่างเพียงพอ
            ผลการวิจัยของศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักแห่งเอเชีย ขี้ให้เห็นว่าประชากรของประเทศไทย โดยเฉพาะสตรีมีครรภ์และพวกเด็ก ๆ มักขาดแคลนแร่ธาตุวิตามินกันมาก ประกอบกับปัญหาด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบทำให้มีค่าครองชีพสูงขึ้น ดังนั้นกรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้มีการรณรงค์ให้มีการปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานเองในครอบครัว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีพืชผักเพียงพอแก่การบริโภคในครัวเรือน ทำให้ได้รับสารอาหารครบตามความต้องการของร่างกายและช่วยลดภาวะค่าครองชีพ

ข้อควรพิจารณาก่อนปลูกผักสวนครัว
การปลูกผักสวนครัวต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
            1. การเลือกสถานที่หรือทำเลปลูก ควรเลือกพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุด อยู่ใกล้แหล่งน้ำและไม่ไกลจากที่พักอาศัยมากนักเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานด้านการปลูก การดูแลรักษาและสะดวกในการเก็บมาประกอบอาหารได้ทันทีตามความต้องการ
            2. การเลือกประเภทผักสำหรับปลูก ชนิดของผักที่จะปลูกควรคำนึงถึงการใช้เนื้อที่ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด โดยการปลูกผักมากชนิดที่สุดเพื่อจะได้มีผักไว้บริโภคหลาย ๆ อย่าง ควรเลือกชนิดของผักที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและปลูกให้ตรงกับฤดูกาล ทั้งนี้ควรพิจารณาเปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดพันธุ์ วันเสื่อมอายุ ปริมาณหรือน้ำหนักโดยดูจากสลากข้างกระป๋องหรือซองที่บรรจุเมล็ดพันธุ์ ซึ่งจะทำให้ทราบว่าเมล็ดพันธุ์นั้นใหม่หรือเสื่อมความงอกแล้ว เวลาวันที่ผลิตถึงวันที่จะซื้อถ้ายิ่งนายคุณภาพเมล็ดพันธุ์จะลดลง

การเลือกทำเลการปลูกผัก
            1. ที่ตั้งของสถานที่ปลูก ในการปลูกผักหรือพืช จำเป็นต้องมีดินหรือวัสดุให้ต้นพืชยึดเกาะรวมทั้งเป็นแหล่งน้ำ แหล่งธาตุอาหารที่จำเป็นในการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งพิจารณาจากลักษณะของพื้นที่คือ
                1.1 มีพื้นที่เป็นพื้นดินในบริเวณบ้าน อาจจะเป็นแหล่งน้ำหรือพื้นที่ปลูกบริเวณบ้าน เป็นสภาพพื้นที่ที่ปลูกผักได้หลากชนิดตามความต้องการ
                1.2 ไม่มีพื้นดินในบริเวณบ้าน ผักสวนครัวบางชนิดการจะปลูกได้ จำเป็นต้องปลูกในภาชนะใส่ดินปลูก อาจจะวางบนพื้นหรือแขวนเป็นผักสวนครัวลอยฟ้า
            2. สภาพแสงและร่มเงา นับว่ามีความจำเป็นในขบวนการสังเคราะห์แสงของพืชเพื่อสร้างอาหาร ปริมาณแสงที่ได้รับในพื้นที่ปลูกแต่ละวันนั้นจะมีผลต่อชนิดของผักที่ปลูก โดยทั่วไปแล้วอาจแบ่งความต้องการแสงในการปลูกผัก ดังนี้
                2.1 สภาพที่ไม่ได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน ควรปลูกพืชผักทีสามารถเจริญเติบโตในร่มได้ เช่น ต้นชะพลู สะระแหน่ ตะไคร้ โหระพา ขิง ข่า และกะเพรา เป็นต้น
                2.2 สภาพที่ได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน ควรเลือกปลูกผักที่สามารถเจริญเติบโตได้ในแสงปกติ เช่น ถั่วฝักยาว คะน้า ผักกาดเชียว กวางตุ้ง พริกต่าง ๆ ยกเว้น พริกขี้หนูสวน

ดินและธาตุอาหารพืช
            ดินที่เหมาะสมแก่การปลูกผัก คือ ดินที่มีลักษณะร่วนซุย ถ่ายเทอากาศได้ดี ระบายน้ำดี อุดมด้วยอินทรียวัตถุและธาตุอาหารพืช


ประเภทของดินและการจัดการ
ประเภทดินทรายและดินร่วนปนทรายดินร่วนดินเหนียว
ลักษณะมีทรายประกอบอยู่มาก จับปั่นเป็นก้อนได้บ้างเมื่อเปียกกระทบเบา ๆ จะแตกระบายน้ำดี มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำร่วนซุยสามารถปั่นเป็นรูปต่าง ๆ ได้มีความเหนียวเล็กน้อยมีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างสูงเหนียวเหนอะหนะเปียกน้ำปั้นเป็นรูปต่าง ๆ ได้ เมื่อแห้งจะเกาะยึดเป็นก้อนแข็งแกร่ง ระบายน้ำและอากาศเลวทีสุดอุ้มน้ำได้ดี
การจัดการใช้อินทรียวัตถุแกลบ ฯลฯ คลุกเคล้าให้เข้ากัน ควรใช้ปลูกเฉพาะพืชผักอายุสั้นและใช้วัสดุคลุมดิน เช่น ฟาง เพื่อรักษาความชื้นหน้าดินไว้เป็นดินที่เหมาะสำหรับการปลูกผักอยู่แล้ว แต่ควรใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์แกลบ คลุกเคล้าเข้าด้วยกัน จะช่วยให้โครงสร้างของดินดียิ่งขึ้นควรใช้ทราย ขี้เถ้าแกลบ แกลบ ปูน (ถ้าเป็นดินกรด) ปุ๋ยคอกเศษฟางคลุกให้เข้ากันดี ควรทำการยกร่อง ทำคูดินเพื่อช่วยในการระบายน้ำ

ฤดูการปลูก
            การปลูกผักควรเลือกให้เหมาะสมกับฤดูกาล เพื่อให้ได้ผักที่มีคุณภาพดี จึงควรพิจารณาเลือกปลูกผัก ดังนี้
            ผักที่ควรปลูกในต้นฤดูฝน คือ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม ได้แก่ หอมแบ่ง ผักกาดเขียวกวางตุ้ง ผักบุ้ง คะน้า พริกต่าง ๆ มะเขือต่าง ๆ ผักกาดหัว ผักกาดหอม บวบ มะระ ฟักเขียว แฟง แตงกวา ข้าวโพดหวาน ถั่วฝักยาว ถั่วพุ่ม น้ำเต้า ถั่วพู ผักบุ้งจีน กระเจี๊ยบเขียว

            ผักที่ควรปลูกปลายฤดูฝน ผักใดที่ปลูกต้นฤดูฝนก็ปลูกไดผลดีในปลายฤดูฝน ยิ่งกว่านั้นยังปลูกผักฤดูหนาวได้อีกด้วย เช่นกะหล่ำปลี กะหล่ำดอก กะหล่ำปม บร็อดโคลี่ ถั่วลันเตา หอมหัวใหญ่ แครอท แรดิช ผักชี ผักกาดเขียวปลี ผักกาดขาวปลี ผักกาดหอมห่อ ข้าวโพดหวาน แตงเทศ แตงโม พริกยักษ์ พริกหยวก ฟักทอง มะเขือเทศ ขึ้นฉ่าย
            ผักที่ควรปลูกในฤดูร้อน ได้แก่ ผักที่ทนร้อนได้ดี และทนความแห้งแล้งพอสมควร ถึงแม้ว่าผักเหล่านี้จะทนร้อนและความแห้งแล้งได้แต่ถ้าจะปลูกในฤดูร้อนผักบางอย่างก็ต้องรดน้ำ เช้า - เย็น ต้องพรวนดินแล้วคลุมด้วยฟางข้าว เพื่อรักษาความชุ่มชื้นไว้ให้พอ เช่น ข้าวโพดหวานข้าวโพดเทียน บวบ มะระ ถั่วฝักยาว ถั่วพุ่ม น้ำเต้า แฟง ฟักทอง ถั่วพู คะน้า ผักกาดเขียวกวางตุ้ง ผักกาดหอม ผักชี (ผักกาดหอม และผักชีนั้น ควรทำร่มรำไรให้ด้วย) ผักกาดขาวเล็ก ผักกาดเขียวใหญ่ มะเขือมอญ
            ผักและพืชบางอย่างที่ควรปลูกไว้รับประทานตลอดปี ได้แก่ พืชที่ทนทาน ปลูกครั้งเดียวรับประทานได้ตลอดปี เช่น สะระแหน่ ผักชีฝรั่ง หอมแบ่ง แมงลัก โหระพา กะเพรา ผักตำลึง ผักบุ้งไทย กระชาย ข่า ตะไคร้ บัวบก มะแว้ง มะเขือพวง พริกขี้ฟ้า พริกขี้หนู มะเขือต่าง ๆ


วิธีการปลูกผักสวนครัว
            1. การปลูกผักในแปลงปลูก มีขั้นตอน คือ
                1.1 การพรวนดิน ใช้จอบขุดดินลึกประมาณ 6 นิ้ว เพื่อพรวนดินให้มีโครงสร้างดีขึ้น กำจัดวัชพืชในดินกำจัดไข่แมลงหรือโรคพืชที่อยู่ในดิน โดยการพรวนดินและตากทิ้งไว้ประมาณ 7-15 วัน
                1.2 การยกแปลง ใช้จอบพรวนยกแปลงสูงประมาณ 4-5 นิ้ว จากผิวดิน โดยมีความกว้างประมาณ 1-1.20 เมตร ส่วนตามความเหมาะสม ความยาวของแปลงนั้นควรอยู่ในแนวทิศเหนือ-ใต้ทั้งนี้เพื่อให้ผักได้รับแสงแดดทั่วทั้งแปลง
                1.3 การปรับปรุงเนื้อดิน เนื้อดินที่ปลูกผักควรเป็นดินร่วนแต่สภาพดินเดิมนั้นอาจจะเป็นดินทรายหรือดินเหนียว จำเป็นต้องปรับปรุงให้เนื้อดินดีขึ้นโดยการใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตราประมาณ 2-3 กิโลกรัม ต่อเนื้อที่ 1 ตารางเมตร คลุกเคล้าให้เข้ากัน
                1.4 การกำหนดหลุมปลูก จะกำหนดภายหลังจากเลือกชนิดผักต่าง ๆ แล้วเพราะว่าผักแต่ละชนิดจะใช้ระยะปลูกที่แตกต่างกัน เช่น พริก ควรใช้ระยะ 75 
 5 เซนติเมตร ผักบุ้งจะเป็น 5  5 เซนติเมตร เป็นต้น
            2. การปลูกผักในภาชนะ
            การปลูกผักในภาชนะควรจะพิจารณาถึงการหยั่งรากของพืชผักชนิดนั้น ๆ พืชผักที่หยั่งรากตื้นสามารถปลูกได้ดีในภาชนะปลูกชนิดต่างๆ และภาชนะชนิดห้อยแขวนที่มีความลึกไม่เกิน 10 เซนติเมตร คือ
            ผักบุ้งจีน คะน้าจีน ผักกาดกว้างตุ้ง (เขียวและขาว) ผักกาดฮ่องเต้ ผักกาดหอม ผักกาดขาวชนิดไม่ห่อ (ขาวเล็ก ขาวใหญ่) ตั้งโอ๋ ปวยเล้ง หอมแบ่ง (ต้นหอม) ผักชี้ ขึ้นฉ่าย ผักโขมจีน กระเทียมใบ (
Leek) กุยช่าย กระเทียมหัว ผักชีฝรั่ง บัวบก สะระแหน่ แมงลัก โหระพา (เพาะเมล็ด) กะเพรา (เพาะเมล็ด) พริกขี้หนู ตะไคร้ ชะพลู หอมแดง หอมหัวใหญ่ หัวผักกาดแดง (แรดิช)
            วัสดุที่สามารถนำมาทำเป็นภาชนะปลูกอาจดัดแปลงจากสิ่งที่ใช้แล้ว เช่น ยางรถยนต์เก่า กะละมัง ปลอกซีเมนต์ เป็นต้น สำหรับภาชนะแขวนอาจใช้ กาบมะพร้าว กระถาง หรือเปลือกไม้

            วิธีการปลูกผักในภาชนะแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี
                2.1 เพาะเมล็ดด้วยการหว่านแล้วถอนแยกหรือหยอดเป็นแถวแล้วถอนแยก ซึ่งพืชควรปลูกด้วยวิธีนี้ ได้แก่
                       - ผักบุ้งจีน                                  - คะน้าจีน                    - ผักกาดขาวกวางตุ้ง
                       - ผักกาดเขียวกวางตุ้ง                 - ผักฮ่องเต้ (กวางตุ้งได้หวัน)
                       - ตั้งโอ๋                                       - ปวยเล้ง                     - ผักกาดหอม
                       - ผักโขมจีน                               - ผักชี                          - ขึ้นฉ่าย
                       - โหระพา                                  - กระเทียมใบ               - กุยฉ่าย
                       - หัวผักกาดแดง                         - กะเพรา                     - แมงลัก
                       - ผักชีฝรั่ง                                 - หอมหัวใหญ่
                2.2 ปักชำด้วยต้น และด้วยหัว ได้แก่
                       - หอมแบ่ง (หัว)                                - ผักชี้ฝรั่ง                - กระเทียมหัว (ใช้หัวปลูก)
                       - หอมแดง (หัว)                                - บัวบก (ไหล)             - ตะไคร้ (ต้น)
                       - สะระแหน่ (ยอด)                            - ชะพลู (ต้น)               - โหระพา (กิ่งอ่อน)
                       - กุยช่าย (หัว)                                  - กะเพรา (กิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน)
                       - แมงลัก (กิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน)
หมายเหตุ มีบางพืชที่ปลูกด้วยหัว หรือส่วนของต้นก็ได้ปลูกด้วยเมล็ดก็ได้ ดังนั้นจึงมีชื่อผักที่ซ้ำกันทั้งข้อ 1 และ 2



การปฏิบัติดูแลรักษา
            การดูแลรักษาด้วยความเอาใจใส่ จะช่วยให้ผักเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์จนถึงระยะเก็บเกี่ยว การดูแลรักษาดังกล่าว ได้แก่
            1. การให้น้ำ การปลูกผักจำเป็นต้องให้น้ำเพียงพอ การให้น้ำผักควรรดน้ำในช่วง เช้า-เย็น ไม่ควรรดตอนแดดจัด และรดน้ำแต่พอชุ่มอย่าให้โชก
            2. การให้ปุ๋ย  มี 2 ระยะ คือ
                2.1 ใส่รองพื้นคือการใส่เมื่อเวลาเตรียมดิน หรือรองก้นหลุมก่อนปลูก ปุ๋ยที่ใส่ควรเป็นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก คลุกในดินให้ทั่วก่อนปลูกเพื่อปรับโครงสร้างดินให้โปร่งร่วนซุย นอกจากนั้นยังช่วยในการอุ้มน้ำและรักษาความชื้นของดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชด้วย
                2.2 การใส่ปุ๋ยบำรุง ควรใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อย้ายกล้าไปปลูกจนกล้าตั้งตัวได้แล้ว และใส่ครั้งที่ 2 หลังจากใส่ครั้งแรกประมาณ 2-3 สัปดาห์ การใส่ให้โรยบาง ๆ ระหว่างแถว ระวังอย่าให้ปุ๋ยอยู่ชิดต้น เพราะจะทำให้ผักตายได้ เมื่อใส่ปุ๋ยแล้วให้พรวนดินและรดน้ำทันที สูตรปุ๋ยที่ใช้กับพืชผัก ได้แก่ ยูเรีย หรือแอมโมเนียซัลเฟต สำหรับบำรุงต้นและใบ และปุ๋ยสูตร 15 - 15 - 15 และ 12 - 24 - 12 สำหรับเร่งการออกดอกและผล
            3. การป้องกันกำจัดศัตรูพืช ควรบำรุงรักษาต้นพืชให้แข็งแรงโดยการกำจัดวัชพืช ให้น้ำอย่างเพียงพอและใส่ปุ๋ยตามจำนวนที่กำหนดเพื่อให้ผักเจริญเติบโต แข็งแรง ทนต่อโรคและแมลง หากมีโรคและแมลงระบาดมากควรใช้สารธรรมชาติ หรือใช้วิธีกลต่าง ๆ ในการป้องกันกำจัด เช่น หนอต่าง ๆ ใช้มือจับออก ใช้พริกไทยป่นผสมน้ำฉีดพ่น ใช้น้ำคั้นจากใบหรือเมล็ดสะเดา ถ้าเป็นพวกเพลี้ย เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย และเพลี้ยจั๊กจั่น ให้ใช้น้ำยาล้างจาน 15 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นใต้ใบเวลาเย็น ถ้าเป็นพวกมด หอย และทาก ให้ใช้ปูนขาวโรยบาง ๆ ลงบริเวณพื้นดิน


การเก็บเกี่ยว
            การเก็บเกี่ยวผักควรเก็บในเวลาเช้าจะทำให้ได้ผักสดรสดี และหากยังไม่ได้ใช้ให้ล้างให้สะอาด และนำเก็บไว้ในตู้เย็น สำหรับผักประเภทผล ควรเก็บในขณะที่ผลไม่แก่จัดจะได้ผลที่มีรสดีและจะทำให้ผลดก หากปล่อยให้ผลแก่คาต้น ต่อไปจะออกผลน้อยลง
            สำหรับในผักใบหลายชนิด เช่น หอมแบ่ง ผักบุ้งจีน คะน้า กะหล่ำปี การแบ่งเก็บผักที่สดอ่อนหรือโตได้ขนาดแล้ว โดยยังคงเหลือลำต้นและรากไว้ไม่ถอนออกทั้งต้น รากหรือต้นที่เหลืออยู่จะสามารถงอกงามให้ผลได้อีกหลายครั้ง ทั้งน้ำจะต้องมีการดูแลรักษาให้น้ำและปุ๋ยอยู่ การปลูกพืช หมุนเวียนสลับชนิดหรือปลูกผักหลายชนิดในแปลงเดียวกัน และปลูกผัก ที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้นบ้างยาวบ้างคละกันในแปลงเดียวกัน หรือปลูกผัก ชนิดเดียวกันแต่ทยอยปลูกครั้งละ 3 - 5 ต้น หรือประมาณว่าพอรับประทานได้ในครอบครัวในแต่ละครั้งที่เก็บเกี่ยว ก็จะทำให้ผู้ปลูกมีผักสดเก็บรับประทานได้ทุกวันตลอดปี
การบริโภคผักให้ปลอดภัยจากสารพิษ
            การปลูกผักไว้รบประทานเอง เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้ได้บริโภคผักที่ปลอดภัยจากสารพิษ แต่ทุกครอบครัวคงไม่สามารถปลูกผักทุกชนิดไว้รับประทานเองได้ ดังนั้นการต้องซื้อหาผักจากตลาดจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอยู่ ทั้งนี้ผักต่าง ๆ เหล่านั้นอาจจะปลอดภัยหรือไม่ปลอดภัยจากสารพิษตกค้างก็ได้ ดังนั้นควรมีการล้างผักให้ถูกวิธีและให้ปลอดภัยจากสารพิษมากที่สุด วิธีการล้างผักให้สะอาดเพื่อลดปริมาณสารพิษสามารถเลือกใช้ได้ตามความสะดวกดังนี้
            1. ลอกหรือปอกเปลือกแล้วแช่ในน้ำสะอาด นาน 5-10 นาที หลังจากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง จะช่วยลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 27-72
            2. แช่น้ำปูนใสนาน 10 นาที่ และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลด ปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 34-52
            3. แช่ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์นาน 10 นาที (ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ 1 ช้อนชา ผสมน้ำ 4 ลิตร และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 35-50
            4. แช่น้ำด่างทับทิมนาน 10 นาที่ (ด่างทับทิม 20-30 เกล็ดผสมน้ำ 4 ลิตร) และล้างออกด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 35-43
            5. ล้างด้วยน้ำไหลจากก๊อกนาน 2 นาที ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 25-39
            6. แช่น้ำซาวข้าวนาน 10 นาที และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 29 38
            7.แช่น้ำเกลือนาน 10 นาที (เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 4 ลิตร) และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 29 - 38
            8. แช่น้ำส้มสายชูนาน 10 นาที
 (น้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 4 ลิตร) และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ ร้อยละ 27-36
            9. แช่น้ำยาล้างผักนาน 10 นาที และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 22-36
เทคนิคการปลูกผลักสวนครัวชนิดต่างๆ
            1. ตระกูลแตงและตระกูลถั่ว ได้แก่ แตงกวา แตงโม แตงไทย ฟักทอง บวบ น้ำเต้า มะระ ถั่วฝักยาว ถั่วแขก และถั่วอื่นๆ
 
                - ผักต่างๆ เหล่านี้มีเมล็ดค่อนข้างใหญ่ งอกเร็ว เช่นผักประเภทเลื้อย ถ้าจะปลูกให้ได้ผลดีและดูแลรักษาง่ายควรทำค้าง
                - วิธีการปลูก หยอดเมล็ดโดยหยอดในแปลงปลูก หรือภาชนะปลูก หลุมละ 3-5 เมล็ด
                - เมื่อเมล็ดงอกมีใบจริง 3-5 ใบ หลังจากนั้นถอนแยกให้เหลือเฉพาะต้นที่แข็งแรง หลุมละ 2 ต้น
                - ใส่ปุ๋ยยูเรียหลังเมล็ดงอก 2 อาทิตย์ เมื่อเริ่มออกดอกใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 12-24-12
                - ให้น้ำสม่ำเสมอ คอยดูแลกำจัดวัชพืช และแมลงต่าง ๆ
                - เริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุประมาณ 40-60 วัน หลังหยอดเมล็ด
            2. ตระกูลกะหล่ำและผักกาด  ได้แก่ คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดขาว ผักกาดหัว กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี และบร๊อกโคลี

                - ผักตะกูลนี้มีเมล็ดค่อนข้างเล็ก บางชนิดมีราคาแพงมากเพราะส่วนใหญ่ต้องสั่งเมล็ดมาจากต่างประเทศ              
                - วิธีปลูก หยอดเมล็ดเป็นหลุม ๆ ละ 3-5 เมล็ด ห่างกันหลุมละ 20 เซนติเมตร หรือโรยเมล็ดบาง ๆ เป็นแถวห่างกันแถวละ20                   เซนติเมตร หลังหยอดเมล็ดหรือโรยเมล็ด 10 วัน หรือเมื่อมีใบจริง 2-3 ใบ ถอนแยกให้เหลือหลุมละ 2 ต้น หรือ หากโรยเมล็ดเป็นแถวให้ถอนอีกระวังระยะต้นไม่ให้ชิดกันเกินไป
                 - ใส่ปุ๋ยยูเรียหลังจากถอนแยกหรือทำระยะปลูกแล้ว
                 - หลังใส่ปุ๋ยครั้งแรก 10 วัน ใส่ปุ๋ยยูเรียครั้งที่สอง
                 - อายุเก็บเกี่ยวผักแต่ละชนิดแตกต่างกันเล็กน้อย เช่น คะน้า กวางตุ้ง เก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 30-45 วัน ผักกาดหัว 45-55 วัน ผักกาดขาวปลี เขียวปลี กะหล่ำดอกกะหล่ำปลี อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 50-60 วัน หลังหยอดเมล็ด 
                 - เมื่อเก็บเกี่ยวไม่ควรถอนผักทั้งต้น เก็บผักให้เหลือใบทิ้ง ไว้กับต้น 2-3 ใบ ต้นและใบที่เหลือจะสามารถเจริญเติบโตให้ผลผลิตเก็บเกี่ยวได้อีก 2-3 ครั้ง
                 - ข้อควรระวัง ต้องให้น้ำสม่ำเสมอ ผักตระกูลนี้มักมีปัญหาโรคและแมลงค่อนข้างมาก ต้องคอยดูแลเอาใจใส่ใกล้ชิด
            3. ตระกูลพริก มะเขือ ได้แก่ พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า มะเขือเปราะ มะเขือพวง มะเขือเทศ

                 - ผักตะกูลนี้ควรมีการเพาะกล้าก่อนย้ายลงปลูกในแปลง
                 - การเพาะกล้า เตรียมดินในกะบะเพาะหรือในถุงพลาสติก
                 - หยอดเมล็ดในถุงเพาะ ถุงละ 3-5 เมล็ด ถ้าเพาะในกะบะเพาะ ควรเว้นระยะระหว่างต้น 5 เซนติเมตร ระหว่างแถว 10 เซนติเมตร
                 - เมื่อเมล็ดงอกแล้วมีใบจริง 2-3 ใบ ถอนแยกเหลือต้น กล้าแข็งแรงสมบูรณ์ไว้ 2 ต้น
                 - เมื่อกล้ามีใบจริง 5-6 ใบ หรือหลังเพาะกล้าประมาณ 30 วัน ย้ายกล้าลงแปลงปลูก
                 - เมื่อต้นกล้าตั้งตัวได้ หรือเริ่มเจริญเติบโต ใส่ปุ๋ยยูเรีย 1 ครั้ง
                 - เมื่อต้นเริ่มออกดอกใช้ปุ๋ย 15-15-15 หรือ 12-24-12
                 - อายุเก็บเกี่ยว มะเขือเทศประมาณ 50-60 วัน หลังย้ายกล้าและพริก มะเขือ ประมาณ 60-75 วัน หลังย้ายกล้า
            4. ตระกูลผักชีและตระกูลผักบุ้ง ได้แก่ ผักชี ขึ้นฉ่าย ผักบุ้ง

                 - ควรนำเมล็ดแช่น้ำก่อนปลูก ถ้าเมล็ดลอยให้ทิ้งไปและนำเมล็ดที่จมน้ำมาเพาะ
                 - หว่านเมล็ดในแปลง โดยจัดแถวให้ระยะห่างกัน 15-20 เซนติเมตร กลบดินทับบาง ๆ ประมาณ 1 เซนติเมตรสำหรับขึ้นฉ่ายไม่ต้องกลบเมล็ด เพราะเมล็ดจะเล็กมาก หากเตรียมดินละเอียดเมล็ดจะแทรกตัวลงไปในระหว่างเม็ดดินได้เอง
                 - ผักบุ้งจะงอกใน 3 วัน ผักชีประมาณ 4-8 วัน และขึ้นฉ่าย 4-7 วัน
                 - เมื่อกล้างอกมีใบจริง ถอนแยกและพรวนดินให้โปร่งเสมอจนเก็บเกี่ยว
                 - ผักบุ้งจีนเก็บเกี่ยวได้ภายใน 15-20 วัน ผักชี 45-60 วัน และขึ้นฉ่าย 60-70 วัน
                 - สำหรับผักชีและขึ้นฉ่าย ไม่ชอบแสงแดดจัด อาจปลูกในที่ ๆ มีร่มเงาได้ แต่สำหรับผักบุ้งจีน ต้องการแสงแดดตลอดวัน
             
           5. ตระกูลโหระพา กะเพรา แมงลัก และตระกูลผักชีฝรั่ง ได้แก่ โหระพา กะเพรา แมงลักและผักชีฝรั่ง
                - เตรียมดินให้ละเอียด หว่านเมล็ดให้ทั่วแปลง ใช้ฟางกลบหรือปุ๋ยคอกที่ย่อยสลายดีแล้วโรยทับบาง ๆ รดน้ำตามทันทีด้วยบัวรดน้ำตา
                    ถี่
                - เมล็ดจะงอกเป็นต้นกล้าภายใน 7  วัน
                - เมื่อกล้าอายุ 1 เดือน ถอนแยกจัดระยะต้นให้โปร่ง หรือ ใช้ระยะระหว่างต้น ประมาณ 20-30 เซนติเมตร
                - โหระพา กะเพรา แมงลัก เก็บเกี่ยวได้หลังหยอดเมล็ด 45-50 วัน ผักชีฝรั่ง เก็บเกี่ยวได้หลังหยอดเมล็ด 60 วัน
                - สำหรับโหระพา กะเพรา และแมงลัก ในระหว่างการเจริญเติบโต ให้หมั่นเด็ดดอกทิ้งเพื่อให้ลำต้นและใบเจริญเติบโตได้เต็มที่
                - ผักชีฝรั่ง ตัดใบไปรับประทาน เหลือลำต้นทิ้งไว้จะสามารถเจริญเติบได้อีก
คุณค่าอาหารผักสวนครัวและผักพื้นเมืองในส่วนที่บิโภคได้  100 กรัม
ชื่อผักโปรตีน
(กรัม)
แคลเซียม
(มก.)
เหล็ก
(มก.)
วิตามินเอ
(หน่วยสากล)
วิตามินซี
(มก.)
กวางตุ้ง1.71022.6384253
กะหล่ำดอก2.8301.09272
กะหล่ำปลี1.0730.716846
กะหล่ำปม2.0410.52066
กระเจี๊ยบ1.8901.023318
กระชาย0.2282.0500010
กะเพราขาว2.73102.2310015
กระถิน8.41374.478838
กุยช่าย2.2162.141247
ขมิ้นชัน1.6190.9173
ข่า0.5151.325333
ขิง1.2210.5904
ขึ้นฉ่าย2.02343.34026100
คะน้า2.31731.410000140
ชะพลู ใบ5.54209.81580031
ชะอม10.5412.7334445
ดอกสลิด (ขจร)5.0701.0315045
ดอกโสน2.5622.1-51
ตะไคร้0.3453.62701
ตำลึง ใบ4.9593.01860831
ต้นกระเทียม2.9891.7674429
ผักชีฝรั่ง3.11137.146008
ผักชีป่า2.01304.5476778
ผักบุ้งจีน2.7513.3653610
ผักบุ้งไทย2.6191.5159714
ผักปรัง1.61061.6581786
ผักแพงพวย1.81320.5-36
ผักแว่น2.0373.5-5
ผักสะเดา6.1721.2279773
ผักหนาม2.2821.9-15
ผักหวาน1.01793.31659113
พริกขี้หนู4.1761.6877832
พริกชี้ฟ้า3.2121.121450100
ฟักเขียว0.4180.2-22
ฟักทอง1.4270.6245814
แฟง0.4150.6-51
มะเขือเทศ1.8230.81500036
มะเขือเปราะ1.5220.76455
มะเขือพวง2.52494.318935
มะเขือม่วง1.4101.53243
มะเขือยาว0.9192.63543
มะระจีน0.9320.933555
มะรุม  ฝัก2.5580.8125159
ต้นหอม1.6562.2400051
แตงกวา1.1230.722013
แตงไทย0.8201.1-31
แตงร้าน1.0280.546318
ถั่วแขก2.1500.7183160
ถั่วฝักยาว2.8420.957022
ถั่วพู2.3333.756721
น้ำเต้า0.6140.41710
บอน0.6360.72510
บวบกลม1.120.728310
บวบเหลี่ยม1.0171.6567
บวบงู0.6260.323510
บัวบก2.01527.01180019
ใบทองหลาง6.4561.9787530
ใบแมงลัก4.11943.81000012
ใบยอ3.83504.9916478
ผักกะเฉด4.11232.525533
ผักกาดขาว1.71211.335043
ผักกาดขาวปลี1.6451.15837
ผักกาดเขียวปลี2.0690.8304243
ผักกาดหัว1.0321.4-26
ผักกาด1.51051.832068
ผักกวางตุ้งไต้หวัน2.41782.01049114
ผักกูด3.72264.71041742
ผักกุ่ม3.41245.360835
ผักโขม3.1523.3490016
มะละกอ1.0380.32540
มะแว้ง2.6501.013836
มะอึก1.9260.818093
ยี่หร่า (แห้ง)19.37658.32780
สะระแหน่3.01943.8360064
ย่านาง7.68705.8201515
โหระพา3.31653.91110019