กระแสการใช้โซล่าเซลล์นั้นมาแรงจริงๆ เกษตรกรส่วนใหญ่มีไร่นาที่ห่างไกลจากเขตไฟฟ้ามาก

ต้อมยอมรับว่ากระแสการใช้โซล่าเซลล์นั้นมาแรงจริงๆ เกษตรกรส่วนใหญ่มีไร่นาที่ห่างไกลจากเขตไฟฟ้ามาก ถ้าจะลากสายไฟเข้าไปที่ไร่นา ต้องใช้ทุนมหาศาลทีเดียว ดังนั้นเพื่อให้มีไฟฟ้าใช้ในที่ไร่นาและการลงทุนที่ไม่สูงนัก แต่ก็มีไฟฟ้ามาให้งาน นั้นก็คือ โซล่าเซลล์ เพื่อนำมาช่วยปั้มน้ำขึ้นมาจากไต้ดินมาใช้งาน

ก่อนอื่นเราต้องดูวัตถุประสงค์ การใช้งานของเราก่อนนะครับ ว่าเราต้องการจะทำปั้มชักเพื่อใช้งาน อะไร ต้องการน้ำแค่ไหน ครับ เมื่อสรุปได้ว่า ต้องการน้ำขนาดไหน อย่างไร ต้องเลือกปั้มชักก่อนอื่น ว่าจะใช้ขนาดใด ตาม สเปกของปั้มชักว่าปั้มได้น้ำกี่ลิตร ต่อ ชม เสร็จแล้วจึงมาเลือกหามอเตอร์ ตามความเหมาะสมกับปั้มที่เราเลือกมาครับ

ตามสเปกปั้มชักทางโรงงานจะกำหนดขนาดของกำลังขับมอเตอร์ที่ สามารถขับไหว ครับอย่างเช่น ถ้าเราเลือก ปั้มชักตามรูปข้างล่างนี้ ปั๊มชักยูม่า(UMA) รุ่น R43S


คุณสมบัติของปั๊มน้ำ
ปริมาตรน้ำ : 1,700 ลิตร/ชม.
ท่อดูด-ส่ง : ขนาด 1 นิ้ว
ลูกสูบ : 43 มม.
มอเตอร์ : 1/3 แรงม้า
คุณสมบัติพิเศษ :
ปลอกสูบทำจากแสตนเลส ดูดน้ำลึกได้ 8 เมตร (แนวดิ่ง)
โดย ดูตรงที่ระบุขนาดมอเตอร์ที่ จะใช้ ว่าใช้ขนาดกี่แรง ที่เขาระบุไว้จะเป็นมอเตอร์ AC 220V ครับ แล้วเทียบหากับมอเตอร์ DC 24 V   เอาครับ



ลองมาดูเรื่อง หน่วยของกำลัง วัตต์  (W)  1000  วัตต์   =  1 kW  : 1 กิโลวัตต์(kW)   =  1.341  กำลังม้า1  แรงม้า  (hp)  =   0.746  kW  หรือเท่ากับ 746 วัตต์ นะครับฉะนั้นการเลือกมอเตอร์ที่เหมาะสม ก็ต้องคำนวณดูนะครับ เราต้องคำนวณตามนี้ครับมอเตอร์ ที่ปั้มต้องการ 1/3 แรง

มอเตอร์ขนาดที่ต้องใช้ =  1 คูณ 746 และ หารดัวย 3มอเตอร์ขนาดที่ต้องใช้ = 248.666 W
ถ้าเราเลือก มอเตอร์ ขนาด 250 W ก็พอดี ครับ แต่ถ้าเพื่อเหลือเพื่อขาด ก็ สัก 350 W ครับตอนนี้ เราก้อได้ ทั้ง ปั้มชักและมอเตอร์ เรียบร้อยแล้ว

ถึงตอนนี้ สิ่งสุดท้ายที่จะต้องเลือก ครับ คือลูกมู่เลย์  ที่จะติดกับตัวมอเตอร์ ส่วนที่ติดกับตัวปั้มเราใช้ตัวเดิมครับ สำหรับตัวนี้ที่ติดมามีขนาด 8 นิ้ว หรือ 20.32 ซม.  โดยสิ่งที่ต้องคำนึงถึง 2 สิ่งต่อไปนี้ คือ


  1. ความเร็วรอบ โดยปั้มชักที่โรงงานผลิต ได้บอกถึงความเร็วรอบปั้มชักควรอยู่ระหว่าง 200-400 รอบ ต่อนาทีครับ รอบต่ำ ได้น้ำน้อย เบาแรงมอเตอร์ เบาแรงปั้มครับ รอบสูงได้ปริมาณน้ำมากขึ้น มอเตอร์ทำงานหนัก ปั้มทำงานหนัก หากเร็วเกิน สิ่งที่จะเสียก่อนไม่ใช่มอเตอร์นะครับ คือตัวปั้ม ครับ
  2. ความเร็วรอบมอเตอร์ ตามสเปก ตัวมอเตอร์ คือใช้ไฟตรง 24V ความเร็วรอบประมาณ 2500 –2750 รอบต่อนาที ถ้าเราใช้ไฟ 12Vความเร็วรอบก็จะลดลงมาครึ่งหนึ่งครับ ตามประสบการณ์ของผม มอเตอร์ใช้ไฟได้ ตั้งแต่ 1-24 V ครับ สำคัญที่การจ่ายกระแสครับช่วงแรกการสต๊าทมอเตอร์  มอเตอร์จะกินกระแสสูงและจะเข้าสู่ภาวะของกระแลสงบต่อไปการกินกระแสก็จะลดลง ครับ เขียนถึงตอนนี้  มันเป็นจุดสำคัญที่สุด ในการเลือกใช้มู่เลย์  ในขนาดที่เหมาะสมที่สุดที่จะทำให้ตัวปั้มและตัวมอเตอร์ทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงสุด ได้น้ำมากแบบประหยัดพลังงาน และใช้งานได้ยาวนานครับ ครับ


เมื่อเราทราบความเร็วรอบของทั้งปั้มและตัวมอเตอร์แล้ว เราจำมาคำนวนหาลูกมู่เลย์ ในขนาดที่เหมาะสมกันปั้มเราใช้ความเร็วรอบสัก 300 รอบต่อ นาที มอเตอร์ถ้าเราใช้ไฟ DC 12 v ความเร็วรอบจะประมาณ 1350 รอบต่อนาที

สูตรคำนวณ ขนาดมู่เลย์ ดังนี้ คับ ขนาดลูกมู่เลย์(ใช้หน่วยซม.)=ความเร็วรอบปั้ม X –ขนาดลูกมู่เลย์ที่ตัวปั้ม(ใช้หน่วยซม.) หารความเร็วรอบของมอเตอร์

จัดการแทนค่าสูตร ดังนี้ คับขนาดลูกมู่เลย์(ใช้หน่วยซม.)=300 x 20.32 หาร1350 เราก้อจะได้ขนาดลูกมู่เลย์(ใช้หน่วยซม.) =   4.51  ซม.

เมื่อได้ครบทั้ง 3 อย่าง ก็เตรียมตัวประกอบได้แล้วครับ เรื่องเทคนิคการประกอบ อย่างไรมีเวลาผมแชร์ประสบการณ์เพิ่มเติมให้นะคับ อยากให้ทุกคนทำได้ด้วยตัวเอง โดยยึดหลักแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง อะไรทำเองได้ก็ทำครับ ทำไม่ได้ก็ค่อยว่ากันใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น